Teddy Bear
คงยากที่จะจินตนาการว่าโลกนี้จะเป็นอย่างไร หากปราศจากเพื่อนที่วางใจ สัตย์ซื่อ และเป็นนักฟังที่ไม่รู้เบื่อ อย่างเช่นเทดดี้แบร์
เทดดี้แบร์เพิ่งจะปรากฏตนเป็นเพื่อนของเราเมื่อไม่นานมานี้เอง เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ในปี ค . ศ . 1902 ที่เกิดเหตุการณ์ในคนละฟากมหาสมุทร ทั้งในสหรัฐอเมริกาและเยอรมัน จนเป็นกำเนิดของ ตุ๊กตาหมี ที่ชื่อ เทดดี้แบร์
เรื่องราวในสหรัฐอเมริกาเล่ากันว่า เทดดี้แบร์มาจากการวาดของนักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองที่ชื่อ คลิฟฟอร์ด เบอร์รีแมน วาดภาพที่ชื่อว่า "Drawing the Line in Mississippi" เป็นภาพประธานาธิบดี ธีโอดอร์ รูสเวลท์ ปฏิเสธจะยิงลูกหมีที่ถูกจับล่ามเอาไว้กับต้นไม้ ตามเรื่องราวที่เล่ากันมาบอกว่า ประธานาธิบดีรูสเวลท์ เดินทางไปมลรัฐมิสซิสซิปปี้เพื่อช่วยเจรจาแบ่งเส้นพรมแดนที่มีปัญหากับรัฐลุยส์เซียน่า และเจ้าภาพให้การต้อนรับผู้นำของประเทศโดยชวนไปล่าหมีในป่า แต่โชคร้ายที่ไม่พบหมีให้ล่า จึงมีคนหัวใสนำเอาลูกหมีมาให้ แต่ประธานาธิบดีปฏิเสธที่จะยิงหมีที่ถูกล่ามเช่นนั้น ทำให้นายเบอร์รีแมนนักวาดภาพการ์ตูนประทับใจจึงวาดภาพนี้ขึ้นมา
การ์ตูนปรากฏใน เดอะวอชิงตันโพสต์ ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน 1902 และเป็นที่กล่าวขวัญกันมาก เป็นแรงบันดาลใจให้สามีภรรยาที่ชื่อ มอร์ริส และโรส มิชทอมส์ ซึ่งอยู่ในนิวยอร์คทำ ตุ๊กตาหมี ขึ้น เพื่อยกย่องการกระทำของประธานาธิบดีรูสเวลท์ ครอบครัวมิชทอมส์ตั้งชื่อ ตุ๊กตาหมี ของตนว่า “ เทดดี้แบร์ ” มาจาก เทดดี้ อันเป็นชื่อเล่นของ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ และนำวางโชว์ที่ตู้กระจกหน้าร้านขายลูกกวาดและเครื่องเขียนของตน ตุ๊กตาที่วางโชว์หน้าร้านตัวนี้ ต่างจาก ตุ๊กตาหมี ที่เคยทำกันมาซึ่งมักจะมีหน้าตาดุร้าย และยืนสี่ขาเหมือนกับหมีจริง แต่หมีของครอบครัวมิชทอมส์เป็นลูกหมีดูน่ารัก ไร้เดียงสา ยืนตัวตรงเหมือนหมีในการ์ตูนของเบอร์รี่แมน นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ ตุ๊กตาหมี “ เทดดี้แบร์ ” ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า จนครอบครัวมิชทอมส์สามารถตั้งโรงงานผลิต ตุ๊กตาหมี ขึ้นเป็นครั้งแรกในอเมริกา ที่ชื่อว่า Ideal Novelty and Toy
ขณะเดียวกัน อีกฟากหนึ่งของมหาสมุทร ริชาร์ด ชไตฟ์ ชายหนุ่มผู้ทำงานกับป้า มาร์กาเร็ตเท ชไตฟ์ ( Margarete Steiff) นักธุรกิจของเล่นเด็กในเยอรมัน ริชาร์ดเรียนมาทางด้านศิลปะ เขาชอบวาดรูป และไปที่สวนสัตว์ในสตุตการ์ตบ่อย ๆ เชไตฟ์ จะทำตุ๊กตาหมี ในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ขณะนั้นการสื่อสารยังไม่เจริญเท่าใด ทั้งคู่จึงไม่ล่วงรู้ถึงความคิดสร้างสรรค์ของกันและกันตุ๊กตาหมี ของมิชทอมส์เป็นลูกหมีตาโต ตามการ์ตูนที่วาดโดยเบอร์รี่แมน ส่วนของหมีชไตฟ์มีลักษณะหลังค่อม จมูกยาว ดูเหมือนลูกหมีจริง ๆ มากกว่า
ไม่นานหลังจากนั้น เดือนมีนาคมปี 1903 ในงานแสดงของเล่น เมืองลิปซิกในเยอรมัน ชไตฟ์เปิดตัว ตุ๊กตาหมี ครั้งแรกในงานนี้ แต่พ่อค้าชาวยุโรปไม่ค่อยให้ความสนใจนัก ตรงกันข้ามพ่อค้าของเล่นชาวอเมริกัน ซึ่งรู้ว่าชาวอเมริกันกำลังสนใจ “ เทดดี้แบร์ ” จึงสั่งซื้อทีเดียว 3,000 ตัว ชไตฟ์จึงเข้าสู่ตลาดอเมริกาในจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมอย่างที่สุด
ความคลั่งไคล้เทดดี้แบร์
ปี 1906 ความคลั่งไคล้ ตุ๊กตาหมี เทดดีแบร์ของคนอเมริกันถึงขีดสุด พอ ๆ กับความนิยมตุ๊กตาหัวกะหล่ำปลี (Cabbage Patch Kid) ในทศวรรษปี 1980 และตุ๊กตาบีนนี่บาบี้ (Beanie Babie) ในทศวรรษปี 1990 เวลานั้นสาว ๆ ถือ ตุ๊กตาหมี กันไปทุกหนแห่ง เด็กๆ นิยมถ่ายรูปคู่กับตุ๊กตาเทดดี้แบร์ ประธานาธิบดีรูสเวลต์ ใช้ ตุ๊กตาหมี เป็นสัญญลักษณ์ในการหาเสียงเลือกตั้งจนได้เป็นประธานาธิบดีในสมัยที่สอง ซีมัวร์ อีตัน นักการศึกษาและคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์เขียนหนังสือชุดสำหรับเด็กเกี่ยวกับการผจญภัยของหมีที่ชื่อรูสเวลต์ นักแต่งเพลงชาวอเมริกันชื่อ เจ . เค . แบรตตัน แต่งเพลง “The Teddy Bear Two Step” ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อ “The Teddy Bear's Picnic” ซึ่งยังคงร้องกันมาจนถึงทุกวันนี้
ผู้ผลิต ตุ๊กตาหมี ในอเมริกาทำ ตุ๊กตาหมี ออกมาทุกสีสันและทุกประเภท ตั้งแต่ ตุ๊กตาหมี บนรองเท้าสเก็ตน้ำแข็ง ไปจนถึง ตุ๊กตาหมี ที่มีตาเป็นหลอดไฟ คำว่า “ เทดดี้แบร์ ” กลายเป็นคำซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึง ตุ๊กตาหมี แม้กระทั่งชไตฟ์ผู้ผลิต ตุ๊กตาหมี ในเยอรมัน ก็รับเอาคำนี้ในการเรียก ตุ๊กตาหมี ของตน
ไม่ใช่เพียงบริษัทสตีฟและบริษัทไอเดียลเท่านั้นที่อยู่ในธุรกิจนี้ แต่มีบริษัทอีกนับสิบบริษัทในอเมริกาที่เปิดกันขึ้นมาในยุคนั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ปิดกิจการในเวลาต่อมา เหลือเพียงบริษัท กันด์แมนูแฟคเจอริ่ง ที่ก่อตั้งในปี 1906 และยังคงทำ ตุ๊กตาหมี มาถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น